วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย



 
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย 
           
 พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน วิถีชีวิตของชาวไทยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  ชาวไทยร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา  ได้นำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่าทุกวันนี้
            1.  พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
            สังคมไทยมีหลักปฏิบัติและวิถีชีวิตอยู่บนหลักของพระพุทธศาสนา  ซึ่งได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  หลักธรรมคำสอนและความเชื่อตลอดจนแนวปฏิบัติตนตามหลักศาสนาได้ซึมซาบอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยทุกคน  จึงกล่าวได้ว่าสังคมไทยทุกระดับได้รับเอาความเชื่อทางศาสนามาเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมา  เพื่อความเข้าใจจะได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม  ดังนี้  
            วัฒนธรรม  หมายถึงสภาพและลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามในด้านวิถีชีวิต ความคิด การปรับตัว  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงวิธีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม  ซึ่งได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา  ซึ่งมี  2  ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมด้านวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา   วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา มี ด้านใหญ่ๆ  ได้แก่  ด้านภาษา  ด้านศิลปกรรม  ด้านประเพณี  และด้านจิตใจ
1.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านภาษาและวรรณกรรม
             ภาษาที่ใช้กันในปัจจุบันในประเทศไทย  มีแหล่งกำเนิดมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่  ถ้าเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้นำภาษาบาลีเข้ามา  ถ้าเป็นฝ่ายมหายาน  ได้นำภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้  เช่น  คำที่ใช้เรียกชื่อต่าง ๆ  ชื่อคน  ชื่อเมือง  ชื่อบ้าน  และชื่อสถานที่ราชการ  เป็นต้น
            วรรณกรรมของไทยที่มาจากพระพุทธศาสนา  ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วง ปฐมสมโพธิกถา มหาชาติคำหลวง  เป็นต้น
2.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านศิลปกรรม
            ศิลปกรรม คือ งานสร้างสรรค์ที่มนุษย์ได้จัดสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้น  ที่มีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ได้แก่ งานจิตรกรรม  ได้แก่ การเขียนภาพ ลวดลายไทย งานปฏิมากรรม ได้แก่ การปั้น การหล่อ และการสลักรูป งานวรรณกรรม  ได้แก่ การประพันธ์ร้อยแก้ว  ร้อยกรอง  สถาปัตยกรรม  การออกแบบ  การก่อสร้าง  และนาฏศิลป์ ดุริยางศิลป์  ได้แก่  การขับร้อง  ฟ้อนรำ เป็นต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
3.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านประเพณี
            ประเพณี  คือ  แบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน  ประเพณีสำคัญ ๆ  ของไทยที่สืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา  เช่น วันสำคัญทางศาสนา  ได้แก่  วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา     วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา ประเพณีอื่นๆ  เช่น การบวช  นาค การทำบุญเนื่องในวันต่างๆ  เช่นครบรอบวันเกิด  ครบรอบวันแต่งงาน  การทำบุญอุทิศแก่ผู้ตายและประเพณีทำบุญต่างๆ  เช่น การตักบาตร การถวายสังฆทาน  การถวายสลากภัต  การทอดผ้าป่า  การทอดกฐิน  การถวายผ้าอาบน้ำฝน  เป็นต้น
4.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านจิตใจ
            คนไทยมีลักษณะนิสัยเฉพาะตัว  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เช่น ความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตา ความเคารพอ่อนน้อม  ความอดทน  รักอิสระ  รักสันโดษ  ชอบช่วยเหลือตนเอง ไม่มีการบังคับข่มเหงซึ่งกันและกัน ยิ้มง่าย  ใจดี  เป็นต้น  จนได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย
พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมทั้งด้านวัตถุและไม่ใช่วัตถุ   เห็นได้ดังนี้
1วัฒนธรรมด้านวัตถุทางพระพุทธศาสนา
            ได้แก่  ศิลปกรรมสาขาต่างๆ  ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย  ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ด้วยสติปัญญาซึ่งถ่ายทอดให้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิด  ความเชื่อ  ความศรัทธา และจินตนาการที่เป็นรูปธรรมอันละเอียด  มี ประเภทด้วยกัน  ได้แก่
1. สถาปัตยกรรม  ในรูปของวัดวาอาราม และปูชนียสถาน
2. ประติมากรรม ในรูปของการปั้น การหล่อ การแกะสลักพระพุทธรูป
3. จิตรกรรม  ในรูปของการเขียนภาพ  เช่น ภาพฝาผนังพระอุโบสถ  ฯลฯ
4. วรรณกรรม ในรูปของงานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
2.  วัฒนธรรมด้านไม่ใช่วัตถุทางพระพุทธศาสนา
            ได้แก่ การปฏิบัติหรือแนวความคิด  ความเชื่อ  อุดมการณ์  ศีลธรรมจรรยา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ปรัชญา  กฎหมาย  ที่รับการปฏิบัติสืบทอดกันมา  มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตและยุสมัย  ที่ได้รับมาจากพระพุทธศาสนา  ได้แก่
            1.  ภาษาและวรรณคดีต่างๆ  ภาษาในประเทศไทย  นิยมนำคำบาลีสันสกฤตมาใช้ในการตั้งชื่อคน สถานที่ เพื่อให้เกิดความหมายและเป็นสิริมงคลตามความเชื่อในคติของพระพุทธศาสนา ส่วนวรรณคดีต่างๆ  ของไทยส่วนมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  สวรรค์  นรก  เป็นต้น
            2.  ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ  คือแบบแผนที่ปฏิบัติสิบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เช่น การเกิด การบวชนาค  การแต่งงาน  การตาย หรือวันสำคัญต่างๆ  เช่น  วันสารท  วันตรุษ  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  เป็นต้น
            3.  ลักษณะนิสัยของคนไทย ที่รับการถ่ายทอดมาจากพระพุทธศาสนา เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง  ร่าเริงแจ่มใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจไมตรี เสียสละ  เป็นต้น
            4.   กฎระเบียบของสังคม  เช่น กฎหมายเรื่องการผิดประเวณี  การลักขโมย เป็นต้น ล้วนเกิดมาจากพระพุทธศาสนา 

            2.  พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ
            ประเทศไทย  ได้รับเอาวัฒนธรรมมาจากพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต  จนกลายมาเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย  พระพุทธศาสนาจึงถือว่าเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชนชาติไทย ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีวัดกระจายอยู่ทั่วไปในทุกหมู่บ้าน  ทุกชุมนุมของสังคมไทย  วัดจัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทย ทั้งมีบทบาทต่อสังคมในฐานะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทำบุญตามประเพณี  จัดกิจกรรมต่างๆ  ของชุมชน เป็นที่พบปะสร้างสรรค์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ  ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เห็นได้ชัด  ดังนี้
1.     ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
2.     ประมุขของชาติไทย ทรงเป็นพุทธมามกะทุกพระองค์
3.     พระราชพิธีและรัฐพิธีต่าง ๆ มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมอยู่ด้วย
4.     กิจกรรมทางสังคมทั้งหมดของประชาชนทั่วไป จะมีพิธีกรรมทางศาสนาแทรกอยู่ด้วยเสมอ  เช่น การเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การสมรส  และงานฉลองต่างๆ ตลอดจนงานศพ  ตั้งแต่เกิดเกิดจนตายก็ว่าได้
5.     สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในประเทศไทย  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ได้แก่  โบสถ์ เจดีย์ วิหาร  หรือศาลาการเปรียญ  เป็นต้น
6.     รูปแบบการปฏิบัติของพระสงฆ์และจริยาวัตรต่าง ๆ  เช่นการรักษาศีล การบิณฑบาต  การนุ่งห่ม ซึ่งมีปรากฏให้เห็นเฉพาะสังคมไทย
           เอกลักษณ์ของประเทศไทย  ที่กล่าวมานี้ถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา จนกลายเป็นมรดกของชนชาติไทยตราบเท่าทุกวันนี้

 

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก



          เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

          เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง" 




ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช



    วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยานครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา

          ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ 



ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา



          หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

        
  จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

          หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี 


ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้


          ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

          ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้ 

          ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่า

เป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

          ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ 

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดา

เอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา 



ประวัติพระพุทธเจ้า : แสดงปฐมเทศนา



          หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา

สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรง

พิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก 

พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสอง

ท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรด

ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

          ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของ

การหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 

ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา

          ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่ง

วาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญา

โกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่

พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึง

สำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา



 ประวัติพระพุทธเจ้า : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา




          ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จน

ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

          พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม


          หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพทุธ

ศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติ

สรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและ

แพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา 


ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน




          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา 

ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำ

พรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวย

สุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า 

"บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และ

ปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว   อานนท   ธมม  จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต  โส  โว  มมจจ

เยน  สตถา" อันแปลว่า  "ดูก่อนอานนท์  ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว  บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย 

ธรรมวินัยนั้น  จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย  เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

          พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อ

เสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะ

ปริพาชก  ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลาง

คณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้


     
     ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้

ปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้

สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต) 
     

          จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสิ

นารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของ

พุทธศักราช 




วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา : พระไตรปิฎก

                                                          พระไตรปิฎก


พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าเป็นคัมภีร์สูงสุดในพระพุทธศาสนา  โดย คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลีคือ ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎก คือ
๑. พระวินัยปิฎก  หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี ๒. พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ ๓. พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
             โดยเนื้อความทั้งหมดของพระไตรปิฎกจัดแบ่งเป็นหมวด ๆ หรือ ขันธ์ มีจำนวน ๘๔, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์   ซึ่งในการจัด พิมพ์ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม หมายถึงระยะเวลา ๔๕ พรรษาแห่งพุทธกิจ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม พระอภิธรรมปิฎก

พระวินัยปิฎก ว่าคือหมวดประมวลพุทธบัญญัติที่ว่าด้วยวินัย หรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์  โดยแบ่งเป็นสองส่วนคืออาทิพรหมจริยกาสิกขา และ อภิสมาจาริกาสิกขา
อาทิพรหมจริยกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันความประพฤติ ที่เสียหายและวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดโดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง และให้พระสงฆ์สวดทุกกึ่งเดือน เรียกว่า พระปาติโมกข์
อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม เพื่อชักนำให้พระสงฆ์มีความประพฤติ ความเป็นอยู่ดีงาม มีคุณค่า น่าเลื่อมใส น่าศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก  คือประมวลพุทธพจน์ ที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนา หรือธรรมบรรยาย ต่างๆ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เหมาะสมแก่บุคคล เหตุการณ์  ในโอกาส เวลาและสถานที่ต่างกัน   โดยเป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง ในรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงธรรมเทศนาของ พระสาวก และพระสาวิกาที่กล่าวตามแนวพระพุทธพจน์ในบริบทต่างๆ ด้วย
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระสูตรทั้งหลายในที่ต่างๆกัน เนื่องในโอกาส ๔ ประการ คือ
        
๑. อัตตัชฌาสยะ    แสดงขึ้นโดยอัธยาศัยของพระพุทธเจ้าเอง
        
๒. ปรัชฌาสยะ    แสดงขึ้นโดยตามอัธยาศัยของผู้อื่น
        
๓. ปุจฉาวสิกะ     แสดงขึ้นจากการทูลถาม
        
๔. อัตถุปัตติกะ    แสดงขึ้นโดยปรารภจากเหตุที่เกิดขึ้น

       พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ 
ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ

๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา

ศาสนพิธี


ศาสนพิธีต่าง ๆ ช่วยทำให้ความศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นสิ่งตอกย้ำใจให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้อย่างดีเยี่ยมจึงเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงามที่ควรรักษาไว้คู่กับพระพุทธศาสนาตลอดไป  ในพระพุทธศาสนาแบ่งศาสนาพิธีออกเป็น  ๔  หมวดใหญ่ ๆ ดังนี้
              ๑.  กุศลพิธี  เป็นพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา  เช่น  การรักษาศีล เป็นต้น
              ๒.  บุญพิธี เป็นพิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป มีบุญมงคลและอวมงคล  เช่น บุญขึ้นบ้านใหม่ บุญหน้าศพ  เป็นต้น
              ๓.  ทานพิธี   เป็นพิธีถวายทานต่างๆ  เช่น ถวายสังฆทาน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค  เป็นต้น
              ๔.  ปกิณกะพิธี  เป็นพิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่การอาราธนาศีล การประเคนของพระ เป็นต้น

ในที่นี้จะนำมาเฉพาะพิธีที่สำคัญ  ๆ อันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวพุทธเสมอ ๆ ดังต่อไปนี้

          1. การตักบาตร   คือการนำข้าวและอาหารคาวหวานใส่บาตรพระหรือสามเณร  โดยอาจทำประจำวันในท้องถิ่นชุมชนที่มีพระสงฆ์และสามเณรออกบิณฑบาต จะทำในวันเกิดของตนหรือวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้งวัน ๘ ค่ำ และ ๑๔,๑๕ ค่ำ เป็นต้น
          เบื้องต้นของการตักบาตร ต้องเตรียมใจให้ผ่องใสเป็นกุศล เปี่ยมด้วยความเต็มใจบุญจะได้บังเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มคิด ขณะทำก็อย่านึกเสียดาย ให้มีสุขใจ หลังจากให้ไปแล้วก็มีความปลื้มปีติยินดีในทานนั้น อย่านึกเสียดายเป็นอันขาด บุญกุศลจึงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการเตรียมของตักบาตร เช่นข้าวสารอาหารแห้งหรืออาหารคาว ถ้าของสดพึงระวังอย่าให้ข้าวและอาหารนั้น ๆ ร้อนหรือเย็นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดความลำบากแก่พระสงฆ์หรือสามเณร ที่ต้องอุ้มบาตรต่อไปในระยะทางไกล ของที่ใส่บาตรนั้นนิยมปฏิบัติเป็นธรรมเนียมว่า ให้ยกขึ้นจบ (ยกขึ้นสูงระดับหน้าผาก ด้วยท่าประนมมือโดยอนุโลม) แล้วนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรว่า นิมนต์ครับ/นิมนต์ค่ะ  เมื่อท่านเดินผ่านมาในระยะใกล้ แล้วใส่ของลงไปในบาตร กล่าวคำถวายทานว่า
สุทินนัง  วะตะ  เม  ทานัง  อาสะวักขะยาวะหัง  โหตุฯ
          แปลว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้แล้วด้วยดี ขอจิตของข้าพเจ้านี้จงสิ้นอาสวะกิเลสเถิด     
          เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วนิยมทำการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญแก่ผู้อื่นอันเป็นที่รักด้วย ช่วยทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เป็นสุขให้แก่ผู้ปฏิบัติ       



           2. พิธีถวายสังฆทาน  คือการถวายวัตถุที่ควรเป็นทานแก่สงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  หากถวายเจาะจงเฉพาะรูป  เรียกว่า "ปาฏิบุคลิกทาน"  ไม่ต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย ส่วนสังฆทานนั้นเป็นการถวายกลาง ๆ ให้สงฆ์เฉลี่ยกันใช้สอย จึงมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะการถวายและการอนุโมทนาของสงฆ์
           สังฆทานมีแบบแผนมาแต่ครั้งพุทธกาล ผู้รับจะเป็นภิกษุหรือสามเณร หรือ พระสังฆเถระหรือพระอันดับชนิดไร ๆ เมื่อสงฆ์จัดไปให้ ผู้ถวายต้องตั้งใจต่อพระอริยสงฆ์  คือ อุทิศถวายเป็นสงฆ์จริง ๆผู้รับรับในนามของสงฆ์เป็นส่วนรวม จึงเป็นการถวายสังฆทานด้วยใจที่เป็นกุศล  อิ่มเอิบเบิกบานในการถวายทานวัตถุที่ถวายจะมากน้อยอย่างไรตามแต่สมควร  ประกอบด้วยภัตตาหารและบริวารของใช้ที่เหมาะแก่สมณะบริโภค ถวายกี่รูปก็ได้แล้วแต่ศรัทธา  จะถวายที่วัดหรือสถานที่อื่น ๆ เช่น ที่บ้านหรือสถานที่ประกอบพิธีก็ได้
          การถวายสังฆทานนั้น เริ่มด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (ถ้ามี)  แล้วอาราธนาศีล และสมาทานศีลจากนั้นผู้ถวายทานประนมมือ ตั้งนะโม ๓ จบแล้วกล่าวคำถวายสังฆทาน เสร็จแล้วประเคนทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์
           หลังจากประเคนถวายพระสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบท “ยะถา วาริวหา....” ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ จนถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง “.....มณิโชติ รโส ยะถา”  ก็ให้หยุดกรวดน้ำ แล้วประนมมือรับพรพระต่อไปจนจบ





         

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา



หลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา
         
             ในแต่ละศาสนาจะมีหลักธรรมคำสอนปลีกย่อยแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ประพฤติปฏิบัติไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนา แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ก็มีคนไทยอีกส่วนหนึ่งที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป ซึ่งทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่สอดคล้องกัน  คือ สอนให้ทุกคนละเว้นจากการทำความชั่ว ให้ทำความดี มีความรักและความเมตตาต่อกัน



     พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา


หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม

           หลักจริยธรรม
            ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน

         หลักคุณธรรม
            พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ

         หลักศีลธรรม
            คือ หลักคำสอนสำคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์

            หลักปรมัตถธรรม
            พุทธศาสนา สอน "อริยสัจ 4" หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
            1. ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา
            2. สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
            3. นิโรธความดับแห่งทุกข์
           4. มรรควิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์

          ความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้งอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่
         สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)
         ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎธรรมดา อันได้แก่
         1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)
         2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
         3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)
          และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนานั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือ
กฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆ ที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ

          1. อนิจจัง (ความไม่แน่นอน) ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัด ทำให้เกิด กฎแห่งวัฏจักร (วัฏฏตา) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ เพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตนเหมือนพ่อแม่ตน ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย กฎวัฏฏตาทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อที่ปิดบังอนิจจัง
          2. ทุกขัง (ความไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ตลอดกาล) คือ สิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่าง ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งการปรับสมดุล (สมตา ) เช่น เรานอนเฉยๆ ต้องขยับ หรือวิ่งมากๆ ต้องหยุด ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่น พืชที่ปลูกถี่ๆ ย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือการปรับสมดุลจึงเกิดชีวิต กฎสมตา ทำให้เกิดอิริยาบถที่ปิดบังทุกขัง
           3. อนัตตา (สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง) ดูเหมือนมีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆ น้อย และเพิ่มขึ้นซับซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างๆ มีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ ทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่ (ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่ อันเป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายของเราย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ กฎชีวิตาทำให้เกิดฆนะ รูปร่าง หรือการเป็นก้อนๆ ที่ปิดบังอนัตตา
            เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
            พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสรเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันสูงสุด คือ นิพพาน คือ การไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)